• HOME
  • ABOUT TUA
    • History of the TUA
    • The Past Presidents of the TUA
    • Message from the President
    • Executive Committee
    • Subcommittees
      • Trainings and Board Examination Subcommittee
      • Scientific Subcommittee
      • Journal Subcommittee
      • Public Relation Subcommittee
  • INSIGHT UROLOGY
    • History of Insight Urology
    • The Past Editors in Chief
    • The Message from the Editor in Chief
    • Editorial Team
    • Contact Team
    • Official Website
    • Best Paper Awards
    • Paper of the week of insight Urology
  • SOCIETIES IN TUA
    • Thai Continence Society (ThCS)
    • Thai Society for Pediatric Urology (TSPU)
    • Thai Endourological Society (TES)
    • Thai Andrology and Men’s Health Society; TAMS
  • UROLOGY TRAINING
    • History of Urology Training
    • Past Chairman of Training
    • Message from the Chairman of Training
    • Training and Board Examination Subcommittee
    • Contact Training
    • Urology Training Curriculum
    • Resident Corner
    • Urology Training Centers
  • PHOTO GALLERY
  • CONTACT TUA
  • Login
  • Register
  • th ไทย
  • en English
Thai Urological Association - สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • HOME
  • ABOUT TUA
    • History of the TUA
    • The Past Presidents of the TUA
    • Message from the President
    • Executive Committee
    • Subcommittees
      • Trainings and Board Examination Subcommittee
      • Scientific Subcommittee
      • Journal Subcommittee
      • Public Relation Subcommittee
  • INSIGHT UROLOGY
    • History of Insight Urology
    • The Past Editors in Chief
    • The Message from the Editor in Chief
    • Editorial Team
    • Contact Team
    • Official Website
    • Best Paper Awards
    • Paper of the week of insight Urology
  • SOCIETIES IN TUA
    • Thai Continence Society (ThCS)
    • Thai Society for Pediatric Urology (TSPU)
    • Thai Endourological Society (TES)
    • Thai Andrology and Men’s Health Society; TAMS
  • UROLOGY TRAINING
    • History of Urology Training
    • Past Chairman of Training
    • Message from the Chairman of Training
    • Training and Board Examination Subcommittee
    • Contact Training
    • Urology Training Curriculum
    • Resident Corner
    • Urology Training Centers
  • PHOTO GALLERY
  • CONTACT TUA
No Result
View All Result
  • HOME
  • ABOUT TUA
    • History of the TUA
    • The Past Presidents of the TUA
    • Message from the President
    • Executive Committee
    • Subcommittees
      • Trainings and Board Examination Subcommittee
      • Scientific Subcommittee
      • Journal Subcommittee
      • Public Relation Subcommittee
  • INSIGHT UROLOGY
    • History of Insight Urology
    • The Past Editors in Chief
    • The Message from the Editor in Chief
    • Editorial Team
    • Contact Team
    • Official Website
    • Best Paper Awards
    • Paper of the week of insight Urology
  • SOCIETIES IN TUA
    • Thai Continence Society (ThCS)
    • Thai Society for Pediatric Urology (TSPU)
    • Thai Endourological Society (TES)
    • Thai Andrology and Men’s Health Society; TAMS
  • UROLOGY TRAINING
    • History of Urology Training
    • Past Chairman of Training
    • Message from the Chairman of Training
    • Training and Board Examination Subcommittee
    • Contact Training
    • Urology Training Curriculum
    • Resident Corner
    • Urology Training Centers
  • PHOTO GALLERY
  • CONTACT TUA
No Result
View All Result
Thai Urological Association - สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
No Result
View All Result
Home Knowledge

กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (Overactive Bladder)

admin by admin
June 12, 2020
in Knowledge
0
0
SHARES
66
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

? O A B????โอ เอ บี? 
โดย นพ.วสันต์ เศรษฐวงศ์ รพ. เลิดสิน 

ความถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโอเอบี 

1. ฉันสงสัยว่าโรคโอเอบีคืออะไร? 
โรคโอเอบีเป็นชื่อโรคที่ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ OAB ซึ่งย่อมาจากคำว่า OverActive 
Bladder ปัจจุบันยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่เป็นทางการสำหรับโรคนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่บัญญัติขึ้นใหม่ได้ประมาณสิบกว่าปี แพทย์บางท่านอาจเรียกโรคนี้ว่า ?กระเพาะปัสสาวะทำงานไวกว่าปกติ? หรือ ?กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน? หรือ ?กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานไม่คงที่? เป็นต้น ซึ่งชื่อเหล่านี้ทั้งหมดสื่อความหมายถึงการบีบตัวที่เร็วผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะตามความหมายของ overactive bladder ในภาษาอังกฤษ 

2. อาการอะไรบ้างที่ชวนสงสัยว่าฉันอาจเป็นโรคโอเอบี? 
ผู้ป่วยที่เป็นโรคโอเอบีมีอาการต้องไปปัสสาวะอย่างรีบด่วนทันทีที่รู้สึกปวดปัสสาวะโดยไม่สามารถผัดผ่อนได้ (urgency) เป็นหลัก บางคนอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จนมีปัสสาวะเล็ดราดออกมาก่อนไปถึงห้องน้ำ (urge incontinence) หรืออาการปัสสาวะบ่อย (frequency) คือ ปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน หรือตื่นกลางดึกเพื่อถ่ายปัสสาวะ (nocturia)ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาการอาจแตกต่างกันในผุ้ป่วยแต่ละราย และสิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นไข้ เป็นต้น 

3. โรคโอเอบีพบได้บ่อยแค่ไหน? 
โรคโอเอบีเป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรทั่วไปของทุกประเทศทั่วโลก อาจพบได้ถึง 14% ของประชากรทั่วไป นั่นหมายความว่าในประเทศไทยอาจมีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 6,000,000 ราย โรคนี้พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเท่าๆ กัน และเกิดได้ในคนมีอายุน้อยจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบในผู้สูงอายุมากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น

4. โรคโอเอบีเป็นสภาวะปกติของผู้สูงอายุหรือไม่? 
โรคโอเอบีไม่ใช่เป็นสภาวะปกติของผู้สูงอายุเสมอไป แม้ว่าโรคนี้พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป อาจพบได้มากถึง 16% ของประชากรกลุ่มนี้ นั่นหมายความว่าผู้สูงอายุหลายคนก็ไม่มีโรคโอเอบี ดังนั้นโรคโอเอบีจึงไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สิ่งที่สำคัญโรคโอเอบีเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าตัวเองอาจมีโรคโอเอบีหรือความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ จึงควรรีบไปพบแพทย์ 

5. โรคโอเอบีเกิดจากสาเหตุอะไร? 
ปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคโอเอบี เชื่อว่าโรคโอเอบีอาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะให้ทำงานตามปกติ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะจึงเกิดการบีบตัวที่ไวผิดปกติ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ของโรคโอเอบีไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่เนื่องจากมีหลายโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นิ่ว หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ก็มีอาการและอาการแสดงคล้ายๆ กับโรคโอเอบี ดังนั้นถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคโอเอบี หรืออาการคล้ายๆ กับโรคนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

6. โรคโอเอบีส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากน้อยอย่างไร? 
แม้ว่าโรคโอเอบีเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต ไม่น้อยไปกว่าโรคร้ายแรงหลายโรค อาการปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลงเนื่องจากต้องลุกไปปัสสาวะบ่อย การใช้ชีวิตประจำวันยากลำบากขึ้นโดยเฉพาะช่วงเวลาจราจรติดขัดหรือช่วงเดินทางไกลต้องแวะหาห้องน้ำตลอดการเดินทาง ทำให้หลายคนไม่อยากออกจากบ้าน เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน จนเกิดเป็นโรคซึมเศร้าตามมาภายหลัง อาการปัสสาวะเล็ดราดทำให้เกิดความอับอาย ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคมและอาจเกิดปัญหาในครอบครัวขึ้นได้ ส่วนอาการลุกขึ้นปัสสาวะกลางดึกบ่อยๆนั้น ทำให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

7. ฉันสงสัยว่าเป็นโรคโอเอบีเมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรคนี้? 
การวินิจฉัยโรคโอเอบีไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างไร เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการชวนสงสัยว่าเป็นโรคโอเอบีมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการต่างๆ ระยะเวลาที่มีอาการ โรคประจำตัว และอาการร่วมอื่น ฯลฯ ร่วมกับการตรวจร่างกายทุกระบบอย่างครบถ้วน ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจภายใน การตรวจทางทวารหนัก และการตรวจระบบประสาที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะ รวมทั้งการส่งตรวจห้องปฏิบัติการเบื้อต้นที่จำเป็น เช่น การจดบันทึกการปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะหรือระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการและอาการแสดงคล้ายกับโรคโอเอบีก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากโรคโอเอบีจริงๆ จะเห็นได้ว่าการตรวจวินิจฉัยโรคโอเอบีไม่ได้น่ากลังแต่อย่างไร ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าอาจเป็นโรคโอเอบีควรรีบไปพบแพทย์

8. แพทย์รักษาโรคโอเอบีอย่างไร? 
ปัจจุบันมีหลายวิธีในการรักษาโรคโอเอบีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ 
ลดการดื่มน้ำในกรณีที่ดื่มน้ำมากเกินไป งดการดื่มน้ำก่อนนอนและก่อนออกเดินทาง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่กระตุ้นการขับปัสสาวะ เช่น แอลกอฮอล์ ชาและกาแฟ ไม่อั้นปัสสาวะเวลานาน เป็นต้น

2. การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน 
การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะแข็งแรงขึ้น สามารถใช้รักษาโรคโอเอบีได้ แต่ต้องผ่านการฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้น ดังนั้นจึงควรซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำการฝึกที่ถูกต้อง 

3. การรักษาด้วยยา 
กลุ่มยา antimuscarinics และ beta-3 agonist เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคโอเอบี โดยการลดการบีบตัวที่ไวเกินของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้อาการของโรคดีขึ้นอย่างชัดเจน แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก บางรายอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หรือง่วงซึมได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา 

4. การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า และการฉีดสาร botulinum toxin A เข้าไปในกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะได้ผลดีในผู้ป่วยโอเอบีที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยากินและพฤติกรรมบำบัด

5. การผ่าตัดต่างๆ นั้นสงวนไว้เฉพาะในกรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆข้างต้นแล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่านั้น 

6.ฉันสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคโอเอบี แต่อายที่ไปพบแพทย์ควรทำอย่างไร? 
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า โรคโอเอบีไม่ใช่โรคที่น่าอับอาย และไม่ได้เป็นแค่ตัวเราคนเดียว ยังมีอีกหลายล้านคนที่มีอาการเหมือนกับตัวเรา และโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้นแค่กล้าที่จะออกไปขอคำจากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะพบว่าได้คุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมาอีกครั้ง 

ทาง TUA ขอขอบพระคุณมากสำหรับบทความสุขภาพดีๆ จาก

ผู้เขียน นพ.วสันต์ เศรษฐวงศ์ 

รพ.เลิดสิน

ผู้ตรวจทาน ศ.นพ.วชิร คชการ รพ.รามาธิบดี

Previous Post

ต่อมลูกหมากโต

Next Post

การดูแลปืนฉีดน้ำ

Next Post

การดูแลปืนฉีดน้ำ

Stay Connected

  • 4.4k Fans

Popular Knowledge

ช้างน้อยจม

ช้างน้อยจม

2 years ago
โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

2 years ago
ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และ การสลายนิ่ว

2 years ago
ไข่ไม่ลงถุง

ไข่ไม่ลงถุง

2 years ago
Thai Urological Association – สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2508
วัตถุประสงค์ของชมรม คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาหารือกันในทางด้านวิชายูโรวิทยา

Follow Us

CONTACT TUA


  • The Thai Urological Association under
    the Royal Patronage
    2, 7th Floor of Royal Golden Jubilee Building
    Soi Soonvijai, New Petchburi Road Bang Kapi Huai Khwang, Bangkok, Thailand 10310
    Telephone : 662-716-6672
    Email : thaiuro@gmail.com
    Page : TUA@thaiurologist
  • Visitors Counter

    1606068
    Users Today : 240
    Users Yesterday : 1216
    This Month : 20939
    This Year : 193067
    Views Today : 518
    Total views : 1972598

    © 2022 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

    No Result
    View All Result
    • Home
    • About TUA
      • Welcome Message
      • History
      • Executive Committee
    • Thai Journal of Urology
      • Official Site
      • Best Paper Awards
    • Working Group
      • Thai Continence Society (ThCS)
      • Thai Society for Pediatric Urology (TSPU)
    • Urology Training
    • Login
    • Sign Up
    • th ไทย
    • en English

    © 2022 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

    เข้าสู่ระบบ


    ลืมรหัสผ่าน ลงทะเบียนใหม่

    ลงทะเบียน

    (เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

    กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

    เข้าสู่ระบบ

    กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

    กรุณาระบุอีเมลของคุณ

    เข้าสู่ระบบ