ประวัติสมาคมฯ

?ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ? กำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2508?ซึ่งเป็นวันที่ประชุมชมรมฯ ครั้งแรก ณ โรงพยาบาลหญิง (โรงพยาบาลราชวิถี) โดยมีอาจารย์สมัย จันทวิมล เป็นประธานชมรมคนแรก และมีสมาชิกก่อตั้งจำนวน 24 คน วัตถุประสงค์ของชมรม คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาหารือกันในทางด้านวิชายูโรวิทยา และการสังสรรค์เพื่อความสนิทสนมเป็นปึกแผ่นของแพทย์ซึ่งปฏิบัติงานในสาขานี้ ชมรมฯ ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่อง โดยจัดประชุมทุก 2 เดือน หมุนเวียนไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ชมรมฯ และวิทยาการในสาขานี้เจริญเติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ

?สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ? เกิดจากแนวความคิดก้าวหน้าของศาสตราจารย์นายแพทย์ไพฑูรย์ คชเสนี ที่ต้องการให้ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะของไทยมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับนานาอารยประเทศ สามารถทำกิจกรรมและการติดต่อกับสมาคมต่างชาติได้อย่างราบรื่น จึงจัดตั้งสมาคมฯ ขึ้นในวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ?The Association of Urological Surgeons of Thailand? สมาคมฯ ยังคงยึดมั่นในวัตถุประสงค์เดิมของชมรมฯ คือประโยชน์ในทางวิชาการ และความสัมพันธ์อันดีในหมู่สมาชิก และเพิ่มเติมบทบาทด้านวิชาการของแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของสมาคมฯ ในอนาคต รวมทั้งความเป็นสากล และการทำประโยชน์ให้กับสังคมด้วย

ความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของสมาคมฯ?สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
++ ด้านวิชาการ?ได้แก่ ประชุมวิชาการ , Interhospital Conference , กลุ่มวิชาการ , เอกสารวิชาการ (ตำรา), ปาฐกถา และด้านวิชาการ+รางวัล
++ ด้านสมาชิกสัมพันธ์?ได้แก่ การประชุมวิชาการ , งานมุทิตาจิตอาจารย์อาวุโส
++ ด้านความเป็นสากล?ได้แก่ การจัดประชุมระดับนานาชาติ , การเป็นสมาชิกองค์กรนานาชาติ และการรับสมาชิกกิตติมศักดิ์

สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะในปี พ.ศ. 2508 จวบจนปัจจุบัน รวมทั้งได้นำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติทั้งในด้านบริการวิชาการ และการผลิตศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นับเป็นความปลาบปลื้มแก่มวลสมาชิกอย่างหาที่สุดมิได้ อย่างไรก็ดี กิจกรรมต่าง ๆ ก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งพร้อมทั้งสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสมาคมฯ ให้รุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ

นอกจากนั้น สมาคมฯ ได้ผลักดันให้มีการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาและการ ฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับความก้าวหน้าในสาขาวิชายูโรวิทยาให้แก่สมาชิกในลักษณะต่อยอดอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น Endourology. Urinary Incontinence และ Oncology ฯลฯ จัดให้การประชุมวิชาการในโรงพยาบาลตามส่วนภูมิภาคในนาม ?การประชุมยูโรส่วนภูมิภาค? เพื่อรับทราบปัญหาการปฏิบัติงานของศัลยแพทย์ที่ทำงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้สมาคมได้ปรับปรุงการบริหารงานให้สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานของสมาชิก จัดงานมุทิตาจิตเพื่อระลึกถึงคุณความดีของบรรดาศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะอาวุโสที่มีส่วนสนับสนุนการก่อตั้งสมาคมฯมาตั้งแต่ในอดีต ในด้านการศึกษาฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เป็นสาขาวิชาแรกของประเทศไทยที่ให้มีการเก็บหลักฐานการปฏิบัติงานและส่งผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านก่อนการสอบ นอกจากนั้นสมาคมยังได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากพยาบาลที่ปฏิบัติงานสาขานี้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสมาคมฯ ด้วย

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ