งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของกล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอได้

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของกล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอได้


การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากการทำหัตถการด้วยกล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอได้จำนวน 6 ตัว ที่ทำโดยศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ 13 คน รวมทั้งหมด 449 หัตถการ ตั้งแต่ มี.ค. 2014 – ส.ค. 2017 เก็บข้อมูลข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด, การวินิจฉัย, อุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัด ได้แก่ ตะกร้อคล้องนิ่ว (nitinol basket), ปลอกหุ้มกล้องส่องท่อไต (ureteral access sheath), และ laser fiber ขนาดต่างๆ โดยช่วงก่อน ม.ค. 2016 มีการใช้ laser fiber 3 ขนาด คือ 200, 365, และ 550 ไมครอนปะปนกัน และช่วงหลัง ม.ค. 2016 มีการใช้ laser fiber ขนาด 200 ไมครอนเพียงขนาดเดียว


ผลการศึกษาพบว่า จากการใช้กล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอได้จำนวน 6 ตัวในการทำผ่าตัด 449 ครั้ง พบมีการซ่อมแซมกล้องครั้งใหญ่ทั้งหมด 15 ครั้ง โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนหัตถการก่อนการซ่อมแซมอยู่ที่ 31.9 ครั้ง ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นสาเหตุจากนิ่วในไตและท่อไต 81.06% มีการใช้ laser ในการจำกัดนิ่ว 82.69% และเป็นการส่องกล้องเพื่อการตรวจวินิจฉัย 14.28%, การทำหัตถการจากสาเหตุเรื่องเนื้องอกทางเดินปัสสาวะส่วนบน 18.9% หัตถการเพื่อการวินิจฉัย 72.9% เพื่อจี้ทำลายเนื้องอก 11.76% และเพื่อตัดชื้นเนื้อส่งตรวจ 14.11%
เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาก่อน ม.ค. 2016 ที่มีการใช้ laser fiber 3 ขนาด คือ 200, 365, และ 550 ไมครอนปะปนกัน และช่วงหลัง ม.ค. 2016 ที่มีการใช้ laser fiber ขนาด 200 ไมครอนเพียงขนาดเดียวพบว่ากล้องตัวที่ 3 และ 5 มีจำนวนครั้งการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นก่อนการซ่อมแซมใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002 และ p<0.001) และพบว่ามีการใช้งานปลอกหุ้มกล้องส่องท่อไต (ureteral access sheath) ในหัตถการส่วนใหญ่คิดเป็น 88% ส่วนตะกร้อคล้องนิ่ว (nitinol basket) พบมีการใช้งานเพียง 14% โดยไม่พบว่ามีความแตกต่างกันในการเสียหายของกล้องจากการใช้งานปลอกหุ้มกล้องส่องท่อไตและตะกร้อคล้องนิ่ว (nitinol basket)


ความเสียหายของกล้อง พบการรั่วซึมของช่องทางใส่เครื่องมือมากที่สุด รองลงมาเป็นตัวอุปกรณ์โค้งงอของกล้องเสียหาย โดยพบกล้อง 1 ตัวที่เสียหายจากการแตกหักของสาย laser fiber และกล้องทั้งหมดไม่พบว่ามีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อกล้อง


จากการศึกษานี้ จะเห็นได้ว่าอายุการใช้งานของกล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอได้ขึ้นกับหลายปัจจัย โดยในการศึกษานี้มีกล้อง 2 ตัวที่เมื่อเปลี่ยนมาใช้งาน laser fiber ขนาดเล็กเพียงขนาดเดียวแล้ว สามารถใช้งานได้จำนวนครั้งมากขึ้นก่อนเกิดความเสียหายที่ต้องซ่อมแซม แต่ก็มีข้อควรระวังคือตัวสาย laser fiber ขนาดเล็กเองก็อาจเป็นสาเหตุให้กล้องเกิดการเสียหายจากการแตกหักได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ประสบการณ์ของศัลยแพทย์, การใช้งานอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น laser fiber ขนาดเล็กโดยระมัดระวังไม่ให้เกิดการแตกหักระหว่างการใช้งาน และการดูแลรักษากล้องที่ดี สามารถทำให้กล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอได้ที่มีราคาสูง ใช้งานได้ยาวนานขึ้น รวมถึงยังลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาซ่อมแซมกล้องได้อีกทางด้วย

แปลและเรียบเรียงโดย นพ.พีร์ พบพาน

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/247865?fbclid=IwAR0fy9-oD0HHIpSPPLZ5ZaLCWt8nHXTF1Sdd3JISc-hc4UtleokvGnF43UY

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ