งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดีถึงผลกระทบของภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดีถึงผลกระทบของภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
การศึกษานี้เก็บข้อมูลของผู้ป่วยอายุ 25-75 ปี ที่ผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรมจำนวน 155 ราย โดยใช้แบบสอบถาม Nocturia Quality-of-Life questionnaire (N-QoL) ที่แปลเป็นภาษาไทย ประกอบด้วยคำถามจำนวน 13 ข้อ คิดคะแนนรวมทั้งหมดจากคะแนนของข้อที่ 1-12 โดยคะแนนยิ่งสูงยิ่งหมายความว่ามีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมาก
ผลการศึกษา พบว่า จากผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนทั้งหมด 155 ราย เป็นชาย 80.65% เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต้องตรวจต่อเนื่อง 86.45% ค่ามัธยฐานของจำนวนครั้งการปัสสาวะกลางคืนอยู่ที่ 3 ครั้ง/คืน ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ต้องลุกมาปัสสาวะหลังจากเข้านอนอยู่ที่ 3 ชั่วโมง และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ มีดังนี้

  1. ผลต่อสมาธิในวันถัดไป: ผู้ป่วย 55.92% ไม่พบผลกระทบต่อสมาธิในวันถัดไป, กระทบบางวัน 23.68% และกระทบทุกวันจำนวน 4 ราย (2.63%) โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างความถี่ในการปัสสาวะต่อคืน, ภาวะปัสสาวะเล็ดราด, การปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอน และปัจจัยพื้นฐานของผู้ป่วย ต่อสมาธิในวันถัดไป
  2. ความอ่อนล้าในวันถัดไป: ผู้ป่วย 45.10% ไม่พบผลกระทบต่อความอ่อนล้าในวันถัดไป, แทบไม่กระทบ 22.22%, กระทบบางวัน 28.10% และกระทบทุกวันจำนวน 2% โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลพหุตัวแปรแล้วพบว่าจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะและการต้องตื่นมาปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอนไม่ถึง 2 ชั่วโมงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.004, b Coefficient 0.183) และ (multivariate p = 0.036, b coefficient 0.501) ตามลำดับ
  3. การงีบหลับระหว่างวัน: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องงีบหลับระหว่างวันหรือต้องการน้อย ขณะที่ผู้ป่วย 31.17% ต้องการงีบระหว่างวันในบางวัน โดยพบว่าจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.001, b coefficient 0.267)
  4. ความคิดสร้างสรรค์ในวันถัดไป: ผู้ป่วย 52.60% ไม่พบผลกระทบ, กระทบน้อย 32.47%, กระทบบางวัน 11.69%, และกระทบทุกวันหรือเกือบทุกวัน 1.30% และ 1.95% ตามลำดับ โดยพบว่าการที่ต้องลุกปัสสาวะหลังเข้านอนเป็นระยะเวลาที่เร็วเป็นปัจจัยเดียวที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.030 , b coefficient -0.015)
  5. กิจกรรมทางกาย: ผู้ป่วย 51.97% ไม่พบผลกระทบต่อกิจกรรมทางกาย, กระทบน้อย 36.84%, และมีผลกระทบทำให้กิจกรรมทางกายลดลงปานกลาง 7.24%, เล็กน้อย 2.63%, และกระทบมาก 1.32% โดยไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ใดที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  6. การจำกัดน้ำ: ผู้ป่วย 86.67% ไม่มีผลกระทบจากการปัสสาวะบ่อยกลางคืนที่ส่งผลให้ต้องมีการจำกัดปริมาณน้ำดื่ม, กระทบบางครั้ง 5.33%, และกระทบมาก 1.33% โดยไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ใดที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  7. ภาวะอดนอนช่วงกลางคืน: ผู้ป่วย 86.67% ไม่พบผลกระทบ, กระทบบางวัน 5.33%, และเกือบทุกวัน 1.33% เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p < 0.001, b Coefficient 0.272)
  8. การรบกวนบุคคลอื่น: 66.67% ของผู้ป่วยไม่พบการต้องรบกวนบุคคลอื่นจากภาวะปัสสาวะบ่อยกลางคืน, รบกวนเล็กน้อย 24.18%, และรบกวนอย่างมาก 2% โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าภาวะปัสสาวะเล็ดราดและการต้องตื่นมาปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอนไม่ถึง 2 ชั่วโมง เป็นสองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.034, b Coefficient 0.453) และ (multivariate p = 0.009, b coefficient 0.509) ตามลำดับ
  9. ความวิตกกังวลต่อประสิทธิภาพของการรักษา: ผู้ป่วย 52.90% ไม่เคยกังวลเลย, กังวลเล็กน้อย (28.39%) ,กังวลปานกลาง 9.68%, และกังวลอย่างมาก 3.23% โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืน, ภาวะปัสสาวะเล็ดราด และการต้องตื่นมาปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอนไม่ถึง 2 ชั่วโมงเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.004, b coefficient 0.135), (multivariate p = 0.016, b coefficient 0.590) และ (multivariate p = 0.027, b coefficient 0.541) ตามลำดับ
  10. ความไม่สะดวกสบายในการลุกมาปัสสาวะกลางคืน: ผู้ป่วย 47.06% พบความไม่สะดวกสบายเล็กน้อย, ไม่กระทบเลย 30.07%, กระทบ 10% โดยในจำนวนนี้พบว่าไม่สะดวกสบายอย่างมาก 3.92% โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืน และการต้องตื่นมาปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอนไม่ถึง 2 ชั่วโมง เป็นสองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.001, b Coefficient 0.188) และ (multivariate p < 0.001, b coefficient 0.891) ตามลำดับ
  11. คุณภาพชีวิตโดยรวม: ผู้ป่วย 49.67% พบมีคุณภาพชีวิตดีปานกลาง, คุณภาพชีวิตดี 28.39%, ไม่ดีไม่ร้าย 5.23%, ดีมาก 4.58% และพบมีคุณภาพชีวิตแย่ 0.65% โดยพบจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืนบ่อยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (multivariate p = 0.002, b coefficient 0.120)
  12. คะแนนรวม N-QoL ทั้งหมดและคะแนนรวมของคำถามข้อ 1-11: จากผู้ป่วยที่ตอบคำถามครบ 13 ข้อจำนวน 143 ราย คำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนรวม N-QoL (ข้อ1-12) ได้ที่ 9.99, SD = 7.72, โดยค่าคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 44 คะแนน, และค่าเฉลี่ยคะแนนรวมคำถามข้อ 1-11 เท่ากับ 8.93, SD = 7.05 พบความสัมพันธ์เส้นตรงระหว่างคะแนนรวม N-QoL (ข้อ1-12)/คะแนนรวมคำถามข้อ 1-11 กับคุณภาพชีวิตโดยรวม (คำถามข้อ13) โดยจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืนที่บ่อยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับคะแนนรวม N-QoL (ข้อ1-12) และคะแนนรวมคำถามข้อ 1-11 ทั้งจากการวิเคราะห์ตัวแปรเดียวและพหุตัวแปร (Multivariate p = 0.002, b coefficient 1.54 และ1.527, ตามลำดับ) การต้องตื่นมาปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอนไม่ถึง 2 ชั่วโมง เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับคะแนนรวม N-QoL (ข้อ1-12) (p = 0.002) และคะแนนรวมคำถามข้อ 1-11

จากการศึกษานี้ จะเห็นได้ว่า ภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้ในหลายๆ ด้าน การซักประวัติและถามถึงลักษณะของภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะจำนวนครั้งที่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืน, การต้องตื่นมาปัสสาวะครั้งแรกหลังจากเข้านอนไม่ถึง 2 ชั่วโมง รวมถึงปัญหาด้านการนอนหลับและการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถทำให้เราเห็นถึงปัญหาและดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินปัสสาวะได้อย่าง ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

แปลและเรียบเรียงโดย นพ.พีร์ พบพาน

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/250460?fbclid=IwAR0KSpQI0nLmHF4ehE_CD9pxtKxqouoMeJoDrj-IHftNtxyvhfYJMUOMpfA

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ