?ใช้เจาะต่อมลูกหมากนะ ไม่ใช่ใช้เจาะนิ้ว!!!?

เรื่องก่อนใหม่ ไทยยูโร
?ใช้เจาะต่อมลูกหมากนะ ไม่ใช่ใช้เจาะนิ้ว!!!?


มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของผู้ชาย และเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญ การจะวินิจฉัยเด็ดขาดว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจริงๆ หรือไม่ ก็คือต้องได้ชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งมักไม่ง่ายนักเนื่องจากเป็นอวัยวะภายใน (แถมในผู้สูงอายุบางรายยังเข้าใจผิดว่า ?ต่อมลูกหมาก? คือ ?ลูกอัณฑะ?!!!)


หลายสิบปีก่อน เรามีเทคนิคที่ชื่อว่า ?Trans-perineal prostate biopsy with Vim-Silverman needle? ใช้ตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากก่อนที่จะมีเข็มแบบ Trucut needle การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากในยุคก่อนที่จะมีการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจหาค่า PSA ในเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะลุกลามแล้วเมื่อมาพบแพทย์ การตัดชิ้นเนื้อจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือเปล่าเท่านั้น ไม่ได้เป็น systematic biopsy เหมือนในปัจจุบัน

วิธีการใช้เข็ม Vim-Silverman คือ ให้ผู้ป่วยนอนหงายยกขาและงอเข้าบนเตียง หรือที่เรานิยมเรียกว่า ?ท่าขบนิ่ว (Lithotomy position)? แพทย์จะสอดนิ้วชี้เข้าทางทวารหนัก โดยที่ปลายนิ้วจะอยู่ในลำไส้ตรง คลำหาตำแหน่งที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะเป็นก้อนแข็งแล้วเอาเข็มเจาะผ่านผิวหนังบริเวณฝีเย็บ พุ่งไปที่ปลายนิ้วชี้ (ระวังอย่าให้โดนนิ้วนะ)


หลังจากนั้นเอาใส้ใน (trocar) ของเข็มออกแล้ว ใส่เข็มที่มีปลาย 2 แฉก (bifid needle) เข้าไปแทนที่ ทำการบิดเข็ม 2 แฉก แล้วเลื่อนปลอก (canular) เข้าไปให้ครอบปลายเข็ม แล้วดึงออกมาทั้งหมด ชิ้นเนื้อจะติดปลายเข็ม 2 แฉกออกมาด้วย ข้อดีของเทคนิคนี้คือ อุบัติการณ์ติดเชื้อน้อย เนื่องจากไม่ผ่านผนังของลำไส้ตรง ข้อต้องระวังมากๆ คือ อย่าเจาะนิ้วตัวเอง!!!


ในปัจจุบันนี้มีการใช้อัลตราซาวด์สอดเข้าไปในลำไส้ตรง (transrectal ultrasound) ร่วมกับเข็มแบบ trucut needle มาใช้แทน และการตัดชิ้นเนื้อจะตัดเป็นแบบแผนและหลายจุด เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นระยะเริ่มต้นของมะเร็ง การใช้นิ้วคลำจึงคลำไม่พบความผิดปกติและไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แพทย์รุ่นใหม่จึงแทบไม่เคยเห็นเทคนิคและเข็ม Vim-Silverman กันอีกเลย
อย่างไรก็ตามการเจาะชิ้นเนื้อผ่านทางฝีเย็บในปัจจุบันยังมีข้อบ่งชี้ในกรณีผู้ป่วยไม่มีรูทวารเนื่องจากเคยได้รับการผ่าตัดมะเร็งทวารหนักหรือลำไส้ตรงมาก่อน (Abdomino-perineal resection) ในปัจจุบันการตัดชิ้นเนื้อผ่านทางฝีเย็บกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่เป็นแบบใช้อัลตราซาวด์นำทาง (ultrasound guide) ผ่าน grid mapping biopsy ซึ่งช่วยให้การตัดชิ้นเนื้อบริเวณส่วนหน้า (anterior lobe) เป็นไปได้ดีมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังมีการตัดชิ้นเนื้อที่ใช้ภาพของเอ็มอาร์ไอ (Magnetic resonance imaging) เข้ามาช่วยให้ความแม่นยำมากขึ้นไปอีกในชื่อ MRI fusion biopsy นั่นเองครับ ซึ่งจะมีประโยชน์มากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการตัดเชื้อหลายครั้งแล้วยังไม่พบมะเร็งต่อมลูกหมาก


ที่มา: ผศ.นพ.ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์
หนังสือ 3 ทศวรรษ ยูโรไทย
นำเสนอ:รศ.นพ.พิษณุ มหาวงศ์

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ