• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติสมาคมฯ
    • อดีตนายกสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะอนุกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ
      • คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
      • คณะอนุกรรมการวารสารและสารสนเทศ
      • คณะอนุกรรมการปฏิคมและประชาสัมพันธ์
  • วารสารยูโร
    • ประวัติวารสารยูโร
    • อดีตบรรณาธิการใหญ่
    • สารจากบรรณาธิการใหญ่
    • กองบรรณาธิการ
    • ติดต่อวารสารยูโร
    • เวบไซต์วารสารยูโร
    • รางวัลบทความดีเด่น
    • บทความประจำสัปดาห์
  • ชมรมต่างๆ ในสมาคมฯ
    • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • ชมรมไทยเอนโดยูโร
    • ชมรมระบบทางเดินปัสสาวะและสุขภาพเพศชายแห่งประเทศไทย
  • การฝึกอบรมศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ประวัติการฝึกอบรมฯ
    • อดีตประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • สารจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • หลักสูตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ติดต่ออนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • มุมแพทย์ประจำบ้าน
    • สถาบันฝึกอบรมต่างๆ
  • ระเบียงภาพถ่าย
  • ติดต่อสมาคมฯ
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลงทะเบียน
  • th ไทย
  • en English
Thai Urological Association - สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติสมาคมฯ
    • อดีตนายกสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะอนุกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ
      • คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
      • คณะอนุกรรมการวารสารและสารสนเทศ
      • คณะอนุกรรมการปฏิคมและประชาสัมพันธ์
  • วารสารยูโร
    • ประวัติวารสารยูโร
    • อดีตบรรณาธิการใหญ่
    • สารจากบรรณาธิการใหญ่
    • กองบรรณาธิการ
    • ติดต่อวารสารยูโร
    • เวบไซต์วารสารยูโร
    • รางวัลบทความดีเด่น
    • บทความประจำสัปดาห์
  • ชมรมต่างๆ ในสมาคมฯ
    • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • ชมรมไทยเอนโดยูโร
    • ชมรมระบบทางเดินปัสสาวะและสุขภาพเพศชายแห่งประเทศไทย
  • การฝึกอบรมศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ประวัติการฝึกอบรมฯ
    • อดีตประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • สารจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • หลักสูตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ติดต่ออนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • มุมแพทย์ประจำบ้าน
    • สถาบันฝึกอบรมต่างๆ
  • ระเบียงภาพถ่าย
  • ติดต่อสมาคมฯ
ไม่พบข้อมูล
ดูทั้งหมด
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติสมาคมฯ
    • อดีตนายกสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะอนุกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ
      • คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
      • คณะอนุกรรมการวารสารและสารสนเทศ
      • คณะอนุกรรมการปฏิคมและประชาสัมพันธ์
  • วารสารยูโร
    • ประวัติวารสารยูโร
    • อดีตบรรณาธิการใหญ่
    • สารจากบรรณาธิการใหญ่
    • กองบรรณาธิการ
    • ติดต่อวารสารยูโร
    • เวบไซต์วารสารยูโร
    • รางวัลบทความดีเด่น
    • บทความประจำสัปดาห์
  • ชมรมต่างๆ ในสมาคมฯ
    • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • ชมรมไทยเอนโดยูโร
    • ชมรมระบบทางเดินปัสสาวะและสุขภาพเพศชายแห่งประเทศไทย
  • การฝึกอบรมศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ประวัติการฝึกอบรมฯ
    • อดีตประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • สารจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • หลักสูตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ติดต่ออนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • มุมแพทย์ประจำบ้าน
    • สถาบันฝึกอบรมต่างๆ
  • ระเบียงภาพถ่าย
  • ติดต่อสมาคมฯ
ไม่พบข้อมูล
ดูทั้งหมด
Thai Urological Association - สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ไม่พบข้อมูล
ดูทั้งหมด
หน้าแรก ความรู้

ต่อมลูกหมากโต

admin โดย admin
กันยายน 21, 2020
in ความรู้
0
ต่อมลูกหมากโต
0
SHARES
29.4k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

ต่อมลูกหมากโต

โดย ผศ.นพ.วิทย์ วิเศษสินธุ์ รพ.รามาธิบดี กรุงเทพฯ

ต่อมลูกหมากคืออะไร?

ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่ รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณโคนอวัยวะเพศของผู้ชาย หน้าต่อท่อทวารหนักไม่สามารถตรวจพบได้ภายนอก จำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจผ่านทางทวารหนัก บางคนเข้าใจผิดระหว่างลูกอัณฑะซึ่งสามารถตรวจได้จากภายนอก ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิ สารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิถูกสร้างจากต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ฉะนั้นโรคของต่อมลูกหมากจึงเกิดได้ในเฉพาะผู้ชาย ในผู้ชายที่โตเต็มที่จะประมาณเท่ากับลูกเกาลัด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอก(ชนิดธรรมดา ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็ง) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โตขึ้นเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย และฮอร์โมนเพศชาย โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ

โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประกอบกับมีการกระตุ้นจากระบบประสาทมากขึ้นบริเวณหูรูดกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก ขนาดต่อมที่โตขึ้นจะไปกดเบียดทางเดินปัสสาวะ ส่วนการกระตุ้นจากระบบประสาทจะทำให้บริเวณหูรูด และทางออกของปัสสาวะมีการหดเกร็งมากขึ้นกว่าปกติ โดยกลไกการกระตุ้นจากระบบประสาทมีผลทำให้เกิดอาการต่างๆ มากกว่าขนาดต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งเราจะพบได้มากในคนไข้ชายสูงอายุ ส่วนมากอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติในผู้ชาย และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี

โรคต่อมลูกหมากโตมีอาการอย่างไร?

อาการที่เกิดจากการอุดกั้นของการขับถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะลำเล็กลง ปัสสาวะไม่พุ่ง ต้องรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้ หลังจากปัสสาวะสุดแล้วยังมีปัสสาวะหยดตามมาอีก มีความรู้สึกว่าปัสสาวะยังไม่หมดทั้งๆ ที่ปัสสาวะหยุดไหลแล้ว รวมทั้งบางครั้งอาจจะถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกถึงแม้จะปวดปัสสาวะมากก็ตาม นอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการระคายเคืองที่เป็นผลต่อเนื่องจากการตอบสนองของกระเพาะปัสสาวะจากต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน และกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ ผู้ป่วยบางคนอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดได้ นอกจากนั้นอาจพบอาการจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะขุ่น มีตะกอน กลิ่นแรงขึ้น มีไข้ หนาวสั่น ถ้าการอุดกั้นของปัสสาวะนานๆ บางครั้งอาจทำให้มีภาวะไตวายเรื้อรังด้วย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก

เป็นต่อมลูกหมากโตแล้วจะกลายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้วโรคต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากมักเกิดในผู้ชายสูงอายุ และอาการของโรคทั้ง 2 กลุ่มนี้คล้ายกันมากทำให้การตรวจค้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตามโรคทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นคนละชนิดกัน และไม่มีการเปลี่ยนสภาพจากต่อมลูกหมากโตไปเป็นมะเร็งได้ แต่เราอาจพบร่วมกันได้

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตที่ไม่ใช่มะเร็งทำอย่างไร?

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตมีหลากหลายวิธี แตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะกล่าวถึงการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยวิธีต่างๆ และต้องขอย้ำก่อนว่ารายละเอียดที่จะกล่าวดังต่อไปนี้เป็นการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ไม่ใช่การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก วัตถุประสงค์ของการรักษาต่อมลูกหมากโตคือ รักษาเพื่อลดอาการผิดปกติต่างๆ ของการถ่ายปัสสาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตใน ผู้ป่วยแต่ละคน และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของต่อมลูกหมากโตในอนาคต เช่น ไตวาย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเป็นต้น ดังนั้นการรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้ป่วยแต่ละคนจึงอาจแตกต่างกันออกไป เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน การรักษาอาจทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้ยา เพียงแค่หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ก่อนเข้านอน ก็สามารถทำให้การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนดีขึ้นได้โดยไม่ต้องทานยา ถ้าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น โดยส่วนใหญ่แพทย์จะเริ่มจากการให้ยาที่ช่วยลดการกระตุ้นจากระบบประสาทบริเวณหูรูดกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก ซึ่งส่วนใหญ่ได้ผลดี ในผู้ป่วยที่ประเมินแล้วว่ามีขนาดต่อมลูกหมากที่โตระดับปานกลาง หรือมาก อาจจะให้ยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก ซึ่งยาเหล่านี้จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีขนาดต่อมลูกหมากเล็ก ในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ได้ ก็อาจจำเป็นให้ยาที่มีผลกับกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายที่การให้ยาไม่ได้ผล หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกเลยจนถึงขั้นต้องใส่ สายสวนปัสสาวะ ทั้งๆ ที่ก็รับประทานยาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดไม่เคยขาด ก็จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านการส่องกล้องเพื่อให้กลับมาปัสสาวะได้ ดังนั้นในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ผู้ป่วยและแพทย์ควรมีการพูดคุยและวางแผนเป้าหมายของการรักษาร่วมกัน

โรคต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ สามารถทานยาต่อเนื่องได้นานหรือไม่?

คำถามนี้ ตอบค่อนข้างยาก เพราะในผู้ป่วยบางรายหลังให้การรักษาจนอาการดีระยะหนึ่ง ก็สามารถหยุดยาได้ แต่อาการก็อาจกลับมาเป็นใหม่ ยาที่ใช้สำหรับการรักษาต่อมลูกหมากค่อนข้างปลอดภัย สามารถให้ติดต่อกันได้นานมากกว่า 5-10 ปีในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดก็ไม่ได้ตัดต่อมลูกหมาก เพียงแค่เอาเนื้องอกออก ต่อมลูกหมากส่วนที่เหลือก็อาจโตกลับมาใหม่ได้

โรคต่อมลูกหมากโตป้องกันได้หรือไม่?

ขณะนี้ยังไม่ได้ เพราะสาเหตุของต่อมลูกหมากโตยังไม่แน่ชัด และเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย ฮอร์โมนที่มีส่วนทำให้ต่อมลูกหมากโตได้แก่ฮอร์โมนเพศชายสร้างจากอัณฑะ ถ้าผู้ชายที่ตัดอัณฑะออกก่อนวัยรุ่นก็จะไม่มีต่อมลูกหมากโต แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากอาจเกิดผลเสียจากการขาดฮอร์โมนมากกว่า การทำหมันชายไม่มีส่วนกับการเกิดอาการต่อมลูกหมากโต ดังนั้นปัจจุบันคำแนะนำคือ เฝ้าระวังการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยไปปรึกษาแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

ทาง TUA ขอขอบพระคุณมากสำหรับบทความสุขภาพดีๆ จาก

ผู้เขียน ผศ.นพ.วิทย์ วิเศษสินธุ์ รพ.รามาธิบดี กรุงเทพฯ

ผู้ตรวจทาน นพ.วสันต์ เศรษฐวงศ์ รพ.เลิดสิน กรุงเทพฯ

Previous Post

ช้างน้อยจม

Next Post

กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (Overactive Bladder)

Next Post

กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (Overactive Bladder)

Stay Connected

  • 4.4k Fans

Popular Knowledge

โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

3 ปี ที่ผ่านมา
ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และ การสลายนิ่ว

3 ปี ที่ผ่านมา
ช้างน้อยจม

ช้างน้อยจม

3 ปี ที่ผ่านมา
ปัสสาวะเล็ดราด

ปัสสาวะเล็ดราด

3 ปี ที่ผ่านมา
Thai Urological Association – สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2508
วัตถุประสงค์ของชมรม คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาหารือกันในทางด้านวิชายูโรวิทยา

ติดตามเรา

ติดต่อสมาคม


  • สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    ในพระบรมราชูปถัมภ์
    2 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 7 ซอยศูนย์วิจัย
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทรศัพท์: 02-716-6672
    อีเมล: thaiuro@gmail.com
    เพจ: สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

    1518962
    Users Today : 1295
    Users Yesterday : 1302
    This Month : 41006
    This Year : 41006
    Views Today : 3981
    Total views : 1711276

    © 2023 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

    ไม่พบข้อมูล
    ดูทั้งหมด
    • หน้าแรก
    • เกี่ยวกับสมาคมฯ
      • สารจากนายกสมาคมฯ
      • ประวัติสมาคมฯ
      • คณะกรรมการบริหาร
    • วารสารยูโร
      • เว็บไซต์วารสารยูโร
      • Best Paper Awards
    • ชมรมย่อย
      • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
      • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • Urology Training
    • เข้าสู่ระบบ
    • Sign Up
    • th ไทย
    • en English

    © 2023 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

    เข้าสู่ระบบ


    ลืมรหัสผ่าน ลงทะเบียนใหม่

    ลงทะเบียน

    (เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

    กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

    เข้าสู่ระบบ

    กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

    กรุณาระบุอีเมลของคุณ

    เข้าสู่ระบบ