• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติสมาคมฯ
    • อดีตนายกสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะอนุกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ
      • คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
      • คณะอนุกรรมการวารสารและสารสนเทศ
      • คณะอนุกรรมการปฏิคมและประชาสัมพันธ์
  • วารสารยูโร
    • ประวัติวารสารยูโร
    • อดีตบรรณาธิการใหญ่
    • สารจากบรรณาธิการใหญ่
    • กองบรรณาธิการ
    • ติดต่อวารสารยูโร
    • เวบไซต์วารสารยูโร
    • รางวัลบทความดีเด่น
    • บทความประจำสัปดาห์
  • ชมรมต่างๆ ในสมาคมฯ
    • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • ชมรมไทยเอนโดยูโร
    • ชมรมระบบทางเดินปัสสาวะและสุขภาพเพศชายแห่งประเทศไทย
  • การฝึกอบรมศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ประวัติการฝึกอบรมฯ
    • อดีตประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • สารจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • หลักสูตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ติดต่ออนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • มุมแพทย์ประจำบ้าน
    • สถาบันฝึกอบรมต่างๆ
  • ระเบียงภาพถ่าย
  • ติดต่อสมาคมฯ
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลงทะเบียน
  • th ไทย
  • en English
Thai Urological Association - สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติสมาคมฯ
    • อดีตนายกสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะอนุกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ
      • คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
      • คณะอนุกรรมการวารสารและสารสนเทศ
      • คณะอนุกรรมการปฏิคมและประชาสัมพันธ์
  • วารสารยูโร
    • ประวัติวารสารยูโร
    • อดีตบรรณาธิการใหญ่
    • สารจากบรรณาธิการใหญ่
    • กองบรรณาธิการ
    • ติดต่อวารสารยูโร
    • เวบไซต์วารสารยูโร
    • รางวัลบทความดีเด่น
    • บทความประจำสัปดาห์
  • ชมรมต่างๆ ในสมาคมฯ
    • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • ชมรมไทยเอนโดยูโร
    • ชมรมระบบทางเดินปัสสาวะและสุขภาพเพศชายแห่งประเทศไทย
  • การฝึกอบรมศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ประวัติการฝึกอบรมฯ
    • อดีตประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • สารจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • หลักสูตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ติดต่ออนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • มุมแพทย์ประจำบ้าน
    • สถาบันฝึกอบรมต่างๆ
  • ระเบียงภาพถ่าย
  • ติดต่อสมาคมฯ
ไม่พบข้อมูล
ดูทั้งหมด
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติสมาคมฯ
    • อดีตนายกสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะอนุกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ
      • คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
      • คณะอนุกรรมการวารสารและสารสนเทศ
      • คณะอนุกรรมการปฏิคมและประชาสัมพันธ์
  • วารสารยูโร
    • ประวัติวารสารยูโร
    • อดีตบรรณาธิการใหญ่
    • สารจากบรรณาธิการใหญ่
    • กองบรรณาธิการ
    • ติดต่อวารสารยูโร
    • เวบไซต์วารสารยูโร
    • รางวัลบทความดีเด่น
    • บทความประจำสัปดาห์
  • ชมรมต่างๆ ในสมาคมฯ
    • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • ชมรมไทยเอนโดยูโร
    • ชมรมระบบทางเดินปัสสาวะและสุขภาพเพศชายแห่งประเทศไทย
  • การฝึกอบรมศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ประวัติการฝึกอบรมฯ
    • อดีตประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • สารจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • หลักสูตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ติดต่ออนุกรรมการฝึกอบรมฯ
    • มุมแพทย์ประจำบ้าน
    • สถาบันฝึกอบรมต่างๆ
  • ระเบียงภาพถ่าย
  • ติดต่อสมาคมฯ
ไม่พบข้อมูล
ดูทั้งหมด
Thai Urological Association - สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ไม่พบข้อมูล
ดูทั้งหมด
หน้าแรก ความรู้

โรคต่อมลูกหมากโต

Make no mistake, the tech giants are still the kings.

admin โดย admin
กันยายน 21, 2020
in ความรู้
0
ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด
0
SHARES
7.4k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ รูปร่างคล้ายลูกเกาลัดหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น? ปรกติจะมีขนาดประมาณ 15-20 กรัม? หน้าที่ที่สำคัญของต่อมลูกหมาก คือ การสร้างน้ำอสุจิ โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี? จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโต จะพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้ามีชีวิตยืนยาวถึง 80-90 ปี? ผู้ชายทุกคนในวัยนี้จะมีต่อมลูกหมากโตกันทั้งหมด แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตทุกคนจะมีอาการ บางคนมีอาการน้อยมาก เช่น ความแรงของปัสสาวะลดลงบ้าง แต่ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ในขณะที่บางคนอาจอาการหนักถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้ สำหรับอาการของโรคต่อมลูกหมากโตที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่างคือ
1. ถ่ายปัสสาวะบ่อย
2. ปัสสาวะไหลไม่แรง
3. เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำรอไม่ได้
4. ถ่ายปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
5. ปัสสาวะไหล ๆ หยุด ๆ
6. ต้องเบ่งช่วยเวลาถ่ายปัสสาวะ
7. ถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
โรคต่อมลูกหมากโตอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่? ปัสสาวะไม่ออกเลย ทางเดินปัสสาวะอักเสบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ไตเสื่อมหรือกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ปัสสาวะเป็นเลือด? เป็นต้น ซึ่งอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งหมด

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต
1. การซักประวัติ บ่อยครั้งแพทย์ให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม (IPSS) เพื่อประเมินความรุนแรงของความผิดปรกติของการถ่ายปัสสาวะ
2. การตรวจทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมาก เนื่องจากต่อมลูกหมากอยู่ภายในร่างกาย ดังนั้น การใช้นิ้วคลำจะเป็นวิธีการตรวจร่างกายที่ง่ายที่สุดในการประเมินถึงลักษณะทางภายกายภาพของต่อมลูกหมาก และที่สำคัญยังสามารถบอกได้ถึงความผิดปรกติที่สงสัยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย
3. การตรวจปัสสาวะเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย เพื่อดูว่ามีการอักเสบติดเชื้อ มีเม็ดเลือดผิดปรกติหรือไม่ และยังเป็นการบอกถึงความผิดปรกติของร่างกายในระบบอื่นได้
4. การตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA (prostatic specific antigen) จะตรวจต่อเมื่อผู้ป่วยมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรง และน่าจะมีชีวิตยืนยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก มีแนวโน้มจะโตและลุกลามช้า
5. การตรวจอัลตราซาวน์ ส่วนมากมักใช้เมื่อมีความผิดปรกติในการตรวจปัสสาวะ แต่ปัจจุบันเป็นที่นิยมส่งตรวจกันมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยและให้ประโยชน์สูง
6. การตรวจความแรงในการไหลของปัสสาวะ (Uroflowmetry)? มักจะร่วมกับการตรวจปัสสาวะที่เหลือค้างหลังจากปัสสาวะหมดแล้ว มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงและติดตามการรักษา
7. การตรวจอื่น ๆ เช่น การส่องกล้อง การตรวจยูโรพลศาสตร์จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน

แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
สำหรับโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ส่วนมากมักจะมีต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม? ดังนั้น การรักษาจะมุ่งเน้นที่จะให้อาการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยดีขึ้น และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากต่อมลูกหมากโต โดยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยและไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิต อาจยังไม่ต้องรักษาเพียงแต่เฝ้าติดตามไปก่อนได้ สำหรับการรักษาในปัจจุบัน ได้แก่

1. การใช้ยา?ปัจจุบันมียาเพื่อใช้รักษาอาการของโรคต่อมลูกหมากโตมากมาย สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มดังนี้
ยาในกลุ่มอัลฟา-บล็อกเกอร์?(Alpha adrenergic blockers)? ?ซึ่งสมัยก่อนจะใช้เป็นยาลดความดัน แต่ปัจจุบันได้พัฒนาต่อจนมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็ว ผู้ป่วยจะรู้สึกปัสสาวะสะดวกขึ้นภายใน 3 วัน แต่ถ้าหยุดยาและอาการก็จะกลับมาอย่างรวดเร็ว ยาในกลุ่มนี้จะใช้กันแพร่หลายที่สุด
ยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน?(DHT)?(Dihydrotestosterone)? ยาในกลุ่มนี้จะลดการสร้างฮอร์โมน DHT ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้า แต่สามารถลดขนาดของต่อมลูกหมากได้ในระดับหนึ่ง จะมีประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากค่อนข้างโต
ยาสมุนไพร?มีอยู่หลายชนิด สำหรับชนิดที่แพร่หลายที่สุด คือ จากสมุนไพรชื่อ Saw palmetto แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจนนัก

2. การรักษาโดยการผ่าตัด?ส่วนมากจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือที่รู้จักในชื่อ TURP? ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานการผ่าตัด ในขณะนี้การรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตและมีภาวะแทรกซ้อน หรือการทานยาไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามมีการผ่าตัดวิธีการอื่นที่สามารถลดภาวะแทรกซ้อนหรือลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลได้ เช่น การใช้เลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด การใช้ขดลวดตาข่ายขยาย? ต่อมลูกหมาก เป็นต้น

สรุป
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคสำหรับชายสูงอายุ สามารถรักษาโดยการเฝ้าดูอาการ การใช้ยาหรือการผ่าตัดขึ้นกับความรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น? อย่างไรก็ตาม การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก มีความจำเป็นเนื่องจากผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการคล้ายคลึงกันได้ เป้าหมายที่สำคัญในการรักษา คือ ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาน้อยที่สุด

Previous Post

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

Next Post

มะเร็งต่อมลูกหมาก เรื่องใกล้ตัวของเพศชาย

Next Post
ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

มะเร็งต่อมลูกหมาก เรื่องใกล้ตัวของเพศชาย

Stay Connected

  • 4.4k Fans

Popular Knowledge

ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด

3 ปี ที่ผ่านมา
โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

3 ปี ที่ผ่านมา

กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (Overactive Bladder)

3 ปี ที่ผ่านมา
หนังหุ้มปลายไม่เปิด

หนังหุ้มปลายไม่เปิด

3 ปี ที่ผ่านมา
Thai Urological Association – สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2508
วัตถุประสงค์ของชมรม คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาหารือกันในทางด้านวิชายูโรวิทยา

ติดตามเรา

ติดต่อสมาคม


  • สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    ในพระบรมราชูปถัมภ์
    2 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 7 ซอยศูนย์วิจัย
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทรศัพท์: 02-716-6672
    อีเมล: thaiuro@gmail.com
    เพจ: สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย
    ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

    1413607
    Users Today : 268
    Users Yesterday : 338
    This Month : 606
    This Year : 606
    Views Today : 629
    Total views : 1422939

    © 2023 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

    ไม่พบข้อมูล
    ดูทั้งหมด
    • หน้าแรก
    • เกี่ยวกับสมาคมฯ
      • สารจากนายกสมาคมฯ
      • ประวัติสมาคมฯ
      • คณะกรรมการบริหาร
    • วารสารยูโร
      • เว็บไซต์วารสารยูโร
      • Best Paper Awards
    • ชมรมย่อย
      • ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะแห่งประเทศไทย
      • ชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย
    • Urology Training
    • เข้าสู่ระบบ
    • Sign Up
    • th ไทย
    • en English

    © 2023 JNews - Premium WordPress news & magazine theme by Jegtheme.

    เข้าสู่ระบบ


    ลืมรหัสผ่าน ลงทะเบียนใหม่

    ลงทะเบียน

    (เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

    กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

    เข้าสู่ระบบ

    กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

    กรุณาระบุอีเมลของคุณ

    เข้าสู่ระบบ