งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ประสบการณ์ของผู้ผ่าตัดจะมีผลต่อผลลัพธ์ในการรักษานิ่วในไต ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางท่อไต (Retrograde intrarenal surgery, RIRS) หรือไม่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษานิ่วในไต ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางท่อไต (RIRS) ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2014 – วันที่ 11 ม.ค. 2017 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยผู้ผ่าตัดมีประสบการณ์ในการผ่าตัดชนิดนี้น้อยกว่า 30 เคส และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดโดยผู้ผ่าตัดมีประสบการณ์ในการผ่าตัดชนิดนี้มากกว่า 300 เคส ซึ่งผลลัพธ์ของการผ่าตัดที่ศึกษา จะประกอบด้วย ระยะเวลาในการผ่าตัด ความสามารถในการนำนิ่วออกจากไตได้หมด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และความเสียหายของกล้องที่ใช้ผ่าตัด

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ประสบการณ์ของผู้ผ่าตัดจะมีผลต่อผลลัพธ์ในการรักษานิ่วในไต ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางท่อไต (Retrograde intrarenal surgery, RIRS) หรือไม่
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษานิ่วในไต ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางท่อไต (RIRS) ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2014 – วันที่ 11 ม.ค. 2017 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยผู้ผ่าตัดมีประสบการณ์ในการผ่าตัดชนิดนี้น้อยกว่า 30 เคส และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดโดยผู้ผ่าตัดมีประสบการณ์ในการผ่าตัดชนิดนี้มากกว่า 300 เคส ซึ่งผลลัพธ์ของการผ่าตัดที่ศึกษา จะประกอบด้วย ระยะเวลาในการผ่าตัด ความสามารถในการนำนิ่วออกจากไตได้หมด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และความเสียหายของกล้องที่ใช้ผ่าตัด


ผลของการศึกษาพบว่า ในกลุ่มที่ 1 มีผู้ผ่าตัดทั้งหมด 6 ท่าน และกลุ่มที่ 2 มีผู้ผ่าตัดเพียง 1 ท่าน โดยในกลุ่มที่ 1 มีเคสผุ้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทั้งหมด 74 ราย และกลุ่มที่ 2 ได้ศึกษาผู้ป่วยมใน 30 เคสแรก หลังจากที่ผู้ผ่าตัดได้มีประสบการณ์การผ่าตัด ครบ 300 เคสแล้ว ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มนั้นไม่แตกต่างกัน แต่ ขนาดของนิ่วในไต ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 นั้นจะมีขนาดเล็กกว่า กลุ่มที่ 2 ( 1.59 cm vs 2.34 cm; p=0.006) ส่วนผลลัพธ์ของการผ่าตัดนั้น พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 มีผลลัพธ์หลังการผ่าตัดดีกว่ากลุ่มที่ 1 ทั้งระยะเวลาในการผ่าตัด และความสามารถในการนำนิ่วออกจากไตได้หมด นอกจากนี้ในกลุ่มที่ 1 พบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อในกระแสเลือด 6 ราย (8.10%) ขณะที่ในกลุ่มที่ 2 ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเลย (p=0.045)


จากงานวิจัยนี้ แสดงในเห็นว่า การผ่าตัดรักษานิ่วในไต ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางท่อไต (Retrograde intrarenal surgery, RIRS) นั้นเริ่มมีการทำอย่างแพร่หลาย และประสบการณ์ของผู้ผ่าตัดมีความสำคัญต่อผลลัพธ์หลังการผ่าตัดที่ดี


แปล และเรียบเรียงโดย นพ.ดลลชา วาณิชย์การ
https://he02.tci-thaijo.org/?/article/view/247854/168354

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ