การรายงานผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต รวมถึงอัตราการรอดชีวิต และอัตราการรอดของไตที่ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่าย การศึกษานี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต จำนวน 136 ราย ณ รพ.ราชวิถี ตั้งแต่ มกราคม 2012 – กันยายน 2019

งานวิจัยนี้เป็นการรายงานผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต รวมถึงอัตราการรอดชีวิต และอัตราการรอดของไตที่ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่าย
การศึกษานี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต จำนวน 136 ราย ณ รพ.ราชวิถี ตั้งแต่ มกราคม 2012 – กันยายน 2019


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิต 96.8% ,96% และ 96% ที่ 1,3 และ 5 ปี ตามลำดับ และอัตราการรอดของไตที่ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายอยู่ที่ 95.2% ,94.4% และ 92.9% ที่ 1,3 และ 5 ปี ตามลำดับ จากการศึกษายังพบอีกว่า ผู้บริจาคส่วนใหญ่เป็นผู้บริจาคที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและมีภาวะสมองตาย สาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยก่อนได้รับการเปลี่ยนไตมีภาวะไตวายเรื้อรังคือ ภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่พบบ่อยที่สุดในระยะแรกคือ ภาวะการเกิดการทำงานของไตที่ได้รับการปลูกถ่ายไตช้า (Delayed graft function) และในระยะหลังคือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับหลอดเลือดที่เลี้ยงไตที่ปลูกถ่าย และนอกจากนี้ยังพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไตคือ ภาวะการติดเชื้อ


จากงานวิจัยนี้ ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนไต ที่ได้รวบรวมมานี้จะมีจำนวนไม่มากเท่าบางสถาบันอื่น ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ แต่ถือว่าอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย และอัตราการรอดของไตที่ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายในงานวิจัยนี้ มีผลเทียบเท่าได้กับสถาบันอื่นๆ และกำลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ


แปลโดย : นพ.ดลลชา วาณิชย์การ
https://he02.tci-thaijo.org/?/article/view/247835/168337

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ