งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา อาการแสดง ปัจจัยเสี่ยง การรักษา และผลลัพธ์หลังการรักษา โรคเส้นเลือดผิดปกติในไต เช่น โรคหลอดเลือดแดงและดำผิดปกติ ( Arteriovenous malformation, AVM), โรคหลอดเลือดแดงและดำต่อกันผิดปกติ (Arteriovenous fistula, AVF) และ โรคหลอดเลือดโป่งพองผิดปกติ (Pseudoaneurysm)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา อาการแสดง ปัจจัยเสี่ยง การรักษา และผลลัพธ์หลังการรักษา โรคเส้นเลือดผิดปกติในไต เช่น โรคหลอดเลือดแดงและดำผิดปกติ ( Arteriovenous malformation, AVM), โรคหลอดเลือดแดงและดำต่อกันผิดปกติ (Arteriovenous fistula, AVF) และ โรคหลอดเลือดโป่งพองผิดปกติ (Pseudoaneurysm)


การศึกษานี้เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลัง จาก มกราคม 2007 – มกราคม 2017 ณ รพ.รามาธิบดี โดยผู้ป่วยที่ได้รับการนอน รพ.ด้วยโรคหลอดเลือดในไตผิดปกติทั้ง 3 โรคดังกล่าว และได้รับการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย อาการ ผลตรวจต่างๆ รวมถึง ปัจจัยกระตุ้นหรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การรักษาและผลลัพธ์ของการรักษา


ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยทั้งหมด 17 ราย เป็น ชาย 9 ราย เป็น หญิง 8 ราย โรคร่วมที่พบบ่อยที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง โดยพบ โรคหลอดเลือดแดงและดำผิดปกติ (AVM) 9 ราย (52.94%) ,โรคหลอดเลือดแดงและดำต่อกันผิดปกติ (AVF) 3 ราย (17.65%), โรคหลอดเลือดโป่งพองผิดปกติ (Pseudoaneurysm) 2 ราย (11.76%) และพบมี 3 ราย ที่พบโรคหลอดเลือดแดงและดำผิดปกติ (AVM) ร่วมกับ โรคหลอดเลือดโป่งพองผิดปกติ (Pseudoaneurysm) (17.65%) อาการหลักที่มักพบร่วมคือ ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเอว ซีด และภาวะความดันต่ำจากการเสียเลือด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ประวัติเคยผ่าตัดที่ไต และประวัติเคยเจาะชิ้นเนื้อที่ไต ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาโดยการ ใช้สารอุดหลอดเลือดโดยผ่านสายสวนในไต (Embolization) และพบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีทุกราย


จากงานวิจัยนี้พบว่า โรคหลอดเลือดในไตผิดปกติทั้ง 3 โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก ประวัติสำคัญที่ทำให้สงสัยโรคดังกล่าวคือ ประวัติเคยผ่าตัดที่ไต และประวัติเคยเจาะชิ้นเนื้อที่ไต ส่วนการรักษา โดยการใช้สารอุดเลือดผ่านสายสวน (Embolization) พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก


แปลและเรียบเรียงโดย นพ.ดลลชา วาณิชย์การ
https://he02.tci-thaijo.org/?/article/view/247840/168340

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ