งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการผ่าตัดรักษานิ่วในไตโดยการส่องกล้อง (PCNL)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการผ่าตัดรักษานิ่วในไตโดยการส่องกล้อง (PCNL)


การศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษานิ่วในไตโดยการส่องกล้อง (PCNL) ตั้งแต่ กรกฎาคม 2013 – มกราคม 2019 จำนวน 76 ราย โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับยาปฏิชีวนะก่อนเริ่มการผ่าตัด 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง และมีการเก็บปัสสาวะเพาะเชื้อจากกรวยไตทางเข็มเจาะผ่านผิวหนังในห้องผ่าตัดทุกรายก่อนเริ่มทำการขยายช่องทางในการส่องกล้องผ่าตัด PCNL


การศึกษาเก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย (เพศ, อายุ, BMI, โรคประจำตัว, ประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในอดีต) ประเภทของนิ่ว, ข้อมูลระหว่างการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น


ผลการศึกษาพบว่า จากผู้ป่วยทั้งหมด 76 ราย 27.6% มีประวัติเคยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบนิ่วชนิด staghorn เป็นสัดส่วนมากที่สุด 42.1% ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ ประเภทนิ่วชนิด staghorn (95%CI: 1.59-28.63, p=0.01) และการตรวจพบเชื้อจากการเพาะเชื้อปัสสาวะจากกรวยไตในห้องผ่าตัด (95%CI: 1.35-41.77, p=0.02)


จากการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่าแม้การผ่าตัดรักษานิ่วในไตโดยการส่องกล้อง (PCNL) จะสามารถทำได้อย่างปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยนิ่วในไต แต่ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ โดยปัจจัยที่ควรให้ความสนใจ คือ ชนิดของนิ่วประเภท staghorn และนอกจากนี้การตรวจพบเชื้อจากการเพาะเชื้อปัสสาวะจากกรวยไตในห้องผ่าตัดนอกจากจะมีความสัมพันธ์กับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการผ่าตัดแล้ว ยังสามารถเป็นตัวช่วยเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะที่ให้เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น


แปลและเรียบเรียงโดย นพ.พีร์ พบพาน

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/247594?fbclid=IwAR1YPzdPnuTd28yq39w2EC1xrK_bpoWIvCVex3U_bfa1yck4bkH0mbGmEb4

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ