งานวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายของการผ่าตัด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากแบบผ่านกล้อง (Laparoscopic radical prostatectomy, LRP) และการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotid-assited laparoscopic radical prostatectomy,RALP)

การศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากทั้งแบบผ่านกล้อง และแบบใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ในช่วงเดือน ม.ค. 2013 ถึง เดือน ธ.ค. 2015 โดยรวบรวมผู้ป่วยในระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลามออกไปนอกต่อมลูกหมาก ในระยะความเสี่ยงย่อย คือ ความเสี่ยงต่ำ, ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง (Low risk, Intermediate risk, High risk) ซึ่งในแต่ละกลุ่มการผ่าตัดทั้ง 2 แบบนี้ จะศึกษาค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนรูปแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยภายใน 24 เดือน นับจากที่ผู้ป่วยได้รับการนอน รพ.เพื่อผ่าตัด และติดตามอาการหลังการผ่าตัด รวมถึงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดในแต่ละกลุ่ม


ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดของกลุ่มการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าในทุกกลุ่มความเสี่ยงย่อยของโรค แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในส่วนของผู้ป่วยนอกของผู้ป่วย มีค่าใช้จ่ายพอกันทั้ง 2 กลุ่มการผ่าตัด คุณภาพชีวิตหลังผ่าตัด พบว่า การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีคุณภาพชีวิตในเรื่องเพศดีกว่ากลุ่มการผ่าตัดแบบผ่านกล้องในทุกกลุ่มความเสี่ยงย่อย แต่คุณภาพชีวิตในเรื่องการขับถ่ายอุจจาระ-ปัสสาวะ และความมีชีวิตชีวาของผู้ป่วยนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่มการผ่าตัดนี้ อย่างมีนัยสำคัญ
จากงานวิจัยนี้จะเห็นได้ว่า จากมุมของผู้ป่วยกับค่าใช้จ่ายของการผ่าตัด การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ซึ่งไม่ได้แปรผันตรงกับผลประโยชน์ทั้งหมดของสภาวะทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในระยะ 24 เดือน


แปลและเรียบเรียงโดย นพ.ดลลชา วาณิชย์การ

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/241086/170699?fbclid=IwAR1qHpEjlOk47UOOob_TqqtB8BCaIi7w0eHJ00SfI4bJr3BfL2ctIYi2SPM

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ