?เชื่อว่าต้องสามารถสอดนิ้วชี้เข้าท่อปัสสาวะได้จึงจะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะคล่อง!!!?

เรื่องก่อนใหม่ ไทยยูโร
?เชื่อว่าต้องสามารถสอดนิ้วชี้เข้าท่อปัสสาวะได้จึงจะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะคล่อง!!!?


ในสมัย 50 ปีก่อนนั้น ความรู้และเครื่องมือในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางระบบปัสสาวะยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะการรักษาทางด้านการถ่ายปัสสาวะผิดปกติมักให้การวินิจฉัยจากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ การรักษาก็มุ่งเน้นไปทางด้านการแก้ไขความผิดปกติทางกายภาพเป็นหลัก
ผู้หญิงที่มีปัญหาในการปัสสาวะ มักจะได้รับการแก้ไข โดยการขยายท่อปัสสาวะ ทั้งที่บางครั้งไม่มีท่อปัสสาวะตีบอย่างชัดเจนก็ตาม แม้กระทั่งผู้ป่วยที่มีปัญหากระเพาะปัสสาวะพิการจากระบบประสาท ปัสสาวะตกค้าง ก็ยังได้รับการรักษาด้วยการขยายท่อปัสสาวะ
ศ.นพ.ไพฑูรย์ คชเสนี เล่าให้ฟังว่า ?เชื่อว่าต้องสามารถสอดนิ้วชี้เข้าท่อปัสสาวะได้จึงจะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะคล่อง เพียงหวังให้แรงเสียดทานบริเวณท่อปัสสาวะลดลง แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะเป็นท่อปัสสาวะเสื่อมร่วมด้วย ท่อปัสสาวะจึงกว้างและเอานิ้วสอดเข้าไปได้ ปัสสาวะไหลออกมาง่ายแต่กลั้นไม่ได้ ทำให้กระเพาะปัสสาวะที่บีบตัวไม่ดีสามารถรีดเอาปัสสาวะออกมาได้หมด?
จุดเริ่มต้นของ Functional Urology ในประเทศไทย ที่เริ่มมองการปัสสาวะในรูปแบบของพลศาสตร์ (Dynamic) เกิดขึ้นเมื่อ ศ.นพ.พิชัย บุณยะรัตเวช นำเครื่องตรวจความเร็วการปัสสาวะ (Uroflowmetry) มาใช้เป็นครั้งแรกที่รพ.จุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2524 ในปีถัดมา พ.ศ. 2525 นพ.ดำรงพันธ์ วัฒนะโชติ ได้นำเครื่องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ (Urodynamic) มาใช้ที่รพ.ราชวิถี และในปีเดียวกัน ศ.นพ.กฤษฎา รัตนโอฬาร ได้นำเครื่องฯ มาใช้ที่รพ.รามาธิบดี ต่อมาที่รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ โดย รศ.นพ.สุมิตร อนุตระกูลชัย และที่รพ.ศิริราช โดย ศ.นพ.สุชาย สุนทราภา ทำให้การเรียนการสอนและการฝึกอบรมครบถ้วนมากขึ้น และเกิดการเรียนรู้ด้านการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ อย่างกว้างขวาง


ที่มา: หนังสือ 3 ทศวรรษ ยูโรไทยฯ
นำเสนอ: รศ.นพ.พิษณุ มหาวงศ์

Stay Connected

Popular Knowledge

เข้าสู่ระบบ


ลงทะเบียน

(เฉพาะสมาชิก TUA เท่านั้น)

กรุณากรอกข้อมูลด้านล่าง

กู้คืนรหัสผ่านของคุณ

กรุณาระบุอีเมลของคุณ